เกาต์เป็นรูปหนึ่งของโรคข้ออักเสบ เกิดขึ้นเมื่อระดับกรดยูริกในร่างกายสูงกว่าปกติ กรดยูริกเป็นผลพลอยได้จากการที่ร่างกายสลายสารพิวรีน ซึ่งเป็นสารที่พบตามธรรมชาติในร่างกายและอาหารที่มาจากสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะเครื่องในสัตว์ โดยปกติกรดยูริกจะละลายในเลือดและส่วนเกินจะถูกนำออกไปขจัดทิ้งในไต เพื่อขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่ถ้าร่างกายผลิตกรดยูริกมากเกินไปหรือขับกรดยูริกออกได้น้อยเกินไป กรดยูริกจะตกตะกอนเป็นผลึกรูปคล้ายเข็มและสะสมตาม ข้อ เข่า และหัวแม่เท้า ทำให้เกิดการเจ็บปวด อักเสบ และปวดตามข้อได้
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงเกิดโรคเกาต์ได้คือ
1. วิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงโรคเกาต์ เช่น เกิดจากการบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหารทอด อาหารไขมันสูง น้ำตาลสูง และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินควร
2. เกิดจากโรคอ้วนและการลดน้ำหนักเร็วเกินไป เหตุผลก็คือ ในขณะที่น้ำหนักลดลงร่างกายเริ่มทำการสลายเนื้อเยื่อ ทำให้มีการปลดปล่อยสารพิวรีนออกมามาก มีผลทำให้ร่างกายผลิตกรดยูริกออกมามากตามไปด้วย อาหารที่ไม่แนะนำให้กิน ได้แก่ เบคอน เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเลบางชนิด เพราะมีสารพิวรีนสูงทำให้ระดับยูริกสูงขึ้น นอกจากนี้อาหารโปรตีนสูงหากกินเป็นระยะเวลานานจะทำให้ไตต้องทำงานหนัก ซึ่งอาจทำให้ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับกรดยูกริกได้
3. เกิดจากโรคบางชนิดและยารักษาโรคบางชนิด อาจเร่งให้เกิดโรคเกาต์ได้เช่นโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษา โรคเบาหวาน ไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสูง หลอดเลือดตีบ แม้แต่การผ่าตัดอาการบาดเจ็บเฉียบพลันหรือรุนแรง และการพักฟื้นบนเตียงก็สามารถเพิ่มระดับกรดยูริกได้ เช่นเดียวกับการใช้ยาขับปัสสาวะรักษาโรค ความดันโลหิตสูง การใช้แอสไพรินในปริมาณต่ำๆ และยาที่ใช้ในผู้ป่วยเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งเพื่อทำลายเซลล์ที่ผิดปกติ จะทำให้สารพิวรีนถูกปลดปล่อยออกมาในกระแสเลือดปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดการสลายเป็นกรดยูริกมากขึ้น
4. กรรมพันธ์ หนึ่งในสี่ของคนที่มีโรคเกาต์จะมีปัญหาทางกรรมพันธุ์ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการมีกรดยูริกสูง
ดูแลสุขภาพก่อนที่จะเป็นเกาต์ ด้วยอาหารสุขภาพ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/